Address : Camden Borough
Call Us : (+66) 2 725 3999
(+66) 2 764 3999
Mail Us : sales@menam.co.th
info@menam.co.th

ทำไมสแตนเลสจึงเป็นวัสดุที่ยั่งยืน

ทำไมสแตนเลสจึงเป็นวัสดุที่ยั่งยืน
การที่เราจะให้คำจำกัดความ หรือ ตัดสินว่า “สแตนเลส” เป็นวัสดุที่มีความยั่งยืนนั้น เราควรจะให้ความหมายของความยั่งยืน ในแนวทางที่สัมพันธ์กันของพื้นฐานสามสิ่ง นั่นคือ มนุษย์ โลก และ ผลกำไร

1. ผลกระทบกับ มนุษย์

วัสดุใดๆ ว่าด้วยเรื่องการใช้งาน หรือ ในด้านการผลิตวัสดุนั้นๆ ขึ้นมา หากพิจารณาด้านสุขภาพและความปลอดภัย วัสดุที่มีความยั่งยืนจะต้องไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ที่ผลิตวัสดุหรือใช้งานวัสดุนั้นๆ ตลอดจนถึงการรีไซเคิล จนถึงจุดสุดท้ายในการใช้งาน คือการกำจัดทิ้ง ถือได้ว่า สแตนเลสไม่เป็นอันตรายต่อคนในระหว่างการผลิตหรือการใช้งาน ชั้นผิววัสดุป้องกันสนิมตามธรรมชาติบนสแตนเลสเกิดจากชั้นของโครเมี่ยม ช่วยป้องการการกัดกร่อนจากสนิม ช่วยยืดอายุการใช้งาน ให้ยาวนาน ตราบใดที่ผู้ใช้งานเลือกเกรดสแตนเลสได้ถูกต้องตามสภาพการใช้งาน สแตนเลสก็จะยังคงให้คุณสมบัติที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ทำให้วัสดุสแตนเลสมักเป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ของการเลือกใช้วัสดุในด้านการแพทย์และ อุตสาหกรรมอาหาร การใช้งานในครัวเรือนรวมถึงการบริการต่างๆ

 

2.ผลกระทบกับ โลก

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสแตนเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซคาร์บอนสู่น้ำ และอากาศ มีปริมาณน้อยมาก ในขณะที่การใช้ซ้ำมีมาก และคุณสมบัติการรีไซเคิลอยู่ในระดับสูง สแตนเลสจึงเป็นวัสดุที่มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำและอายุการใช้งานยาวนาน ทั้งสองคุณลักษณะชี้วัดสำคัญนี้เป็นการวัดผลกระทบของวัสดุทีมีต่อโลก ซึ่งสแตนเลสส่งผลกระทบในระดับต่ำมาก เมื่อพิจารณาถึงการใช้ เตาหลอมอาร์คไฟฟ้า (EAF) กระบวนการหลักที่ใช้ในการผลิตเหล็กสแตนเลสมีประสิทธิภาพอย่างมากนั้น พบว่าเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า (EAF) มีผลกระทบน้อยมากต่อสิ่งแวดล้อมในแง่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งก๊าซ CO2 และก๊าซอื่น ๆ อีกด้วย

นอกจากนั้น เตาหลอมอาร์คไฟฟ้า (EAF) ยังมีประสิทธิภาพอย่างมากในการจัดการกับเศษสแตนเลส จึงมั่นใจว่าสแตนเลสใหม่จากการรีไซเคิลมีส่วนประกอบของสแตนเลสโดยเฉลี่ยมากกว่า 60%

สแตนเลสจะถูกนำมารีไซเคิลได้อย่างสะดวกเพื่อผลผลิตสแตนเลสมากขึ้น และกระบวนการรีไซเคิลนี้​​้สามารถทำได้เรื่อย ๆ คาดว่าประมาณ 80% ของสแตนเลสจะถูกนำกลับมารีไซเคิลอีกครั้งเสมอ เมื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตจากสแตนเลส หมดอายุการใช้งาน

สแตนเลสเป็นวัสดุที่มีมูลค่าที่แท้จริงในตัวเองสูงมาก ดังนั้นเศษสแตนเลส หรือวัสดุที่ทำจากสแตนเลสที่เสื่อมสภาพมักจะถูกเก็บและรวบรวมไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลซึ่งมีค่าใช้จ่ายของกระบวนการรีไซเคิลที่ไม่สูง และไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายจากประชาชน

3. ผลกระทบด้านผลกำไร

อุตสาหกรรมที่ผลิตสแตนเลสนี้ ถือเป็นธุรกิจที่แสดงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการมอบความเชื่อมั่นและคุณภาพสินค้าอย่างดีเยี่ยม ให้กับผู้บริโภคจนถึงปลายสุดห่วงโซ่อุปทาน

การเลือกใช้สแตนเลสในการใช้งานต่างๆ เราจะแน่ใจได้ว่า คุณจะได้รับคุณสมบัติเหล่านี้อย่างแน่นอน คือ

· ประหยัดเงินในด้านการบำรุงรักษา
· อายุการใช้งานยาวนานและง่ายต่อกระบวนการรีไซเคิลตลอดอายุการใช้งาน

คุณสมบัตินี้เองที่ทำให้สแตนเลสเป็นวัสดุที่คุ้มค่าในการเลือกใช้งาน เช่น ตู้เย็น และ เครื่องซักผ้า หรือแม้แต่สินค้าที่มีราคาสูง เช่น สแตนเลสที่ใช้ในงานขนส่ง เกี่ยวกับสารเคมี หรือการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

สแตนเลสยังมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าโลหะมากที่สุด สามารถทนไฟและมีความต้านทานการกัดกร่อนที่สูง จึงทำให้สแตนเลสเป็นทางเลือกที่ดีในการทำงานด้านการขนส่งอาคาร หรือสาธารณะเ ช่น รถไฟใต้ดินอุโมงค์ และสะพานต่างๆ

ความทนไฟ และ การต้านทานการกัดกร่อน รวมถึงคุณสมบัติทางกลของสแตนเลสนี้ สแตนเลสจึงถูกนำไปใช้งานเพื่อให้แน่ใจว่ามนุษย์ได้รับการปกป้องในระดับสูงภายใต้การบำรุงรักษาต่ำ นอกจากนี้สแตนเลสยังมีคุณลักษณะที่สวยงามทำให้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่ๆ ที่ต้องการโครงสร้างที่แข็งแรงบวกกับดีไซน์ที่สวยงาม

เมื่อเราคำนึงถึงการรีไซเคิลและการนำมาใช้ใหม่ รวมถึงอายุการใช้งานยาวนาน การบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ อีกทั้งความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตและการใช้งานของเหล็กสแตนเลสที่น้อยมากที่สุด เมื่อเทียบกับวัสดุทางเลือกอื่น ๆ

เราจึงอาจอธิบายได้ว่าทำไมในขณะที่สังคมและรัฐบาลมีความใส่ใจในด้านสิ่งแวดล้อม และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากเท่าไหร่

การใช้งานของสแตนเลสก็ยิ่งที่ได้รับการใช้งานมากเท่านั้น และหากเปรียบเทียบกับวัสดุอื่นๆ ก็มีการใช้งานสูงสุดมากกว่าวัสดุใด ๆ ในโลก

บริษัท แม่น้ำสแตนเลสไวร์ จำกัด (มหาชน) ภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัสดุที่มีความยั่งยืน

***********************************************************************

Source: http://www.sustainablestainless.org/why-stainless